หลักสูตรความปลอดภัยในการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงในระบบราง (PQS Competency Based Curriculum in Rail Maintenance Safety)
หลักสูตรพื้นฐานสำหรับทุกอาชีพในสาขาวิชาชีพรถไฟความเร็วสูงและระบบราง
เพื่อให้ผู้เข้าฝึกอบรมมีความรู้ ทักษะ และมีทัศนคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพในสาขาวิชาชีพรถไฟความเร็วสูงและระบบราง รวมทั้งสามารถปฏิบัติงานซ่อมบำรุงในระบบรางภายใต้หลักความปลอดภัยได้ดังนี้
1) อธิบายภาพรวมและการทำงานของรถไฟและระบบรางได้พอสังเขป2) ซ่อมบำรุงบนทางวิ่งรถไฟฟ้าที่มีกระแสไฟฟ้าแรงสูง ซ่อมบำรุงบนที่สูง และซ่อมบำรุงในที่อับอากาศได้ตามหลักความปลอดภัย
3) เลือกใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ความปลอดภัยได้เหมาะสมกับประเภทของงาน
4) สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลได้เหมาะสมกับลักษณะงาน
5) ปฐมพยาบาลและช่วยเหลือชีวิตเบื้องต้นได้
6) อธิบายวิธีการดับเพลิงขั้นต้น และขั้นตอนการอพยพหนีไฟได้
ซึ่งผู้เรียนจะต้องผ่าน หลักสูตรความปลอดภัยในการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงในระบบราง (PQS Competency Based Curriculum in Rail Maintenance Safety) ที่เป็นหลักสูตรพื้นฐานสำหรับทุกอาชีพในสาขาวิชาชีพรถไฟความเร็วสูงและระบบราง (หน่วยฝึกย่อย) ตามข้อกำหนดของแต่ละคุณวุฒิวิชาชีพ ดังนี้
- ช่างเทคนิคซ่อมบำรุงระบบอาณัติสัญญานไฟสีและโทรคมนาคม ชั้น 4 (203) เรียนหน่วยฝึกย่อยที่ 1-3
- ช่างเทคนิคซ่อมบำรุงระบบช่วงล่างรถไฟฟ้าด้านระบบเครื่องกล ชั้น 4 (204) เรียนหน่วยฝึกย่อยที่ 1-3
- ช่างเทคนิคซ่อมบำรุงทางรถไฟ ชั้น 3 (209) เรียนหน่วยฝึกย่อยที่ 1-6
- ช่างเทคนิคซ่อมบำรุงโครงสร้างรองรับทางรถไฟ ชั้น 3 (210) เรียนหน่วยฝึกย่อยที่ 1-6
- ผู้ขับรถจักร ระดับ 4 เรียนหน่วยฝึกย่อยที่ 1-3
- ผู้ขับเคลื่อนรถบำรุงทางขนาดหนัก ระดับ 4 เรียนหน่วยฝึกย่อยที่ 1-3
หน่วยฝึกย่อยที่ 1 ของหลักสูตรความปลอดภัยในการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงในระบบราง
ขอบเขตหน่วยการฝึก
หน่วยการฝึกนี้พัฒนาขึ้นเพื่อให้ผู้เข้าฝึกอบรมทุกอาชีพในสาขาวิชาชีพรถไฟความเร็วสูงและระบบราง มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรถไฟและระบบราง ได้แก่ ความสำคัญของระบบรางที่มีต่อการพัฒนาประเทศ ทางรถไฟ การขับเคลื่อนขบวนรถไฟ องค์ประกอบของรถไฟ รถไฟฟ้าและรถไฟความเร็วสูง ระบบอาณัติสัญญาณรถไฟขั้นพื้นฐาน การซ่อมบำรุงในระบบราง รวมทั้งมีความตระหนักถึงความปลอดภัยในการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงในระบบราง
ช่างเทคนิคซ่อมบำรุงระบบช่วงล่างรถไฟฟ้าด้านระบบเครื่องกล ชั้น 4 เรียนหน่วยฝึกย่อยที่ 1-3
หน่วยฝึกย่อยที่ 2 ของหลักสูตรความปลอดภัยในการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงในระบบราง
หน่วยการฝึกนี้พัฒนาขึ้นเพื่อให้ผู้เข้าฝึกอบรมทุกอาชีพในสาขาวิชาชีพรถไฟความเร็วสูงและระบบราง มีความรู้
และทักษะการปฐมพยาบาลเบื้องต้น รวมทั้งสามารถประเมินอาการเบื้องต้นของผู้บาดเจ็บ ณ จุดเกิดเหตุได้
และแจ้งเหตุ/ขอความช่วยเหลือจากระบบบริการฉุกเฉินทางการแพทย์ได้
ช่างเทคนิคซ่อมบำรุงระบบช่วงล่างรถไฟฟ้าด้านระบบเครื่องกล ชั้น 4 เรียนหน่วยฝึกย่อยที่ 1-3
หน่วยฝึกย่อยที่ 3 ของหลักสูตรความปลอดภัยในการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงในระบบราง
ขอบเขตหน่วยการฝึก
หน่วยการฝึกนี้พัฒนาขึ้นเพื่อให้ผู้เข้าฝึกอบรมทุกอาชีพในสาขาวิชาชีพรถไฟความเร็วสูงและระบบราง มีความรู้
เกี่ยวกับทฤษฎีการเกิดเพลิง ประเภทของเพลิง อุปกรณ์ดับเพลิง และสามารถใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลในการดับเพลิงได้
ช่างเทคนิคซ่อมบำรุงระบบช่วงล่างรถไฟฟ้าด้านระบบเครื่องกล ชั้น 4 เรียนหน่วยฝึกย่อยที่ 1-3
ผู้ขับรถจักร ระดับ 4 เรียนหน่วยฝึกย่อยที่ 1-3
ผู้ขับเคลื่อนรถบำรุงทางขนาดหนัก ระดับ 4 เรียนหน่วยฝึกย่อยที่ 1-3
หน่วยฝึกย่อยที่ 4 ของหลักสูตรความปลอดภัยในการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงในระบบราง
หน่วยฝึกย่อยที่ 4 ของหลักสูตรความปลอดภัยในการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงในระบบราง
และทักษะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงบนทางวิ่งรถไฟฟ้าที่มีกระแสไฟฟ้าแรงสูง ได้แก่ การจัดเตรียม
อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติงาน การดำเนินการขอเข้าพื้นที่ซ่อมบารุงที่มีกระแสไฟฟ้าแรงสูง การเลือกใช้
อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลจากไฟฟ้าแรงสูง การดำเนินการออกจากพื้นที่หลังเสร็จสิ้นการซ่อมบำรุง
โดยให้เป็นไปตามหลักความปลอดภัยในการปฏิบัติงานกับไฟฟ้าแรงสูง และมาตรฐานความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องตามที่กฎหมายกำหนดทุกประการ
- อาจารย์: Kitidech Santichaianant
หน่วยฝึกย่อยที่ 5 ของหลักสูตรความปลอดภัยในการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงในระบบราง
และทักษะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงบนที่สูง ได้แก่ การจัดเตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการทำงาน
บนที่สูง การติดตั้งอุปกรณ์การทำงานบนที่สูง การใช้และสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูงและอุปกรณ์ป้องกัน
อันตรายส่วนบุคคล การทำความสะอาดและออกจากพื้นที่หลังการปฏิบัติงาน โดยให้เป็นไปตามหลักความปลอดภัยใน
การปฏิบัติงานบนที่สูง และมาตรฐานความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องตามที่กฎหมายกำหนดทุกประการ
- อาจารย์: Kitidech Santichaianant
หน่วยฝึกย่อยที่ 6 ของหลักสูตรความปลอดภัยในการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงในระบบราง
ขอบข่ายหน่วยการฝึกหน่วยการฝึกนี้พัฒนาขึ้นเพื่อให้ผู้เข้าฝึกอบรมทุกอาชีพในสาขาวิชาชีพรถไฟความเร็วสูงและระบบราง มีความรู้
และทักษะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงในที่อับอากาศ ได้แก่ การจัดเตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการทำงานในที่อับอากาศ การกรอกเอกสารแบบฟอร์มขออนุญาตเข้าปฏิบัติงานในที่อับอากาศ การใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล การปฐมพยาบาลเบื้องต้น การอพยพออกจากที่อับอากาศ และการออกจากพื้นที่หลังการปฏิบัติงานโดยให้เป็นไปตามหลักความปลอดภัยในการปฏิบัติงานบนที่สูง และมาตรฐานความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องตามที่กฎหมายกำหนดทุกประการ
- อาจารย์: Kitidech Santichaianant